คำนวณขนาดระบบพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับบ้านของคุณ: คู่มือทีละขั้นตอน
คุณกำลังคิดที่จะติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่บ้านใช่ไหม? คำถามแรก ๆ ที่คุณน่าจะสงสัยก็คือ “ฉันควรติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคากี่แผง” เพื่อให้คำนวณปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมร่วมกับผู้ติดตั้งและเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบของคุณในอนาคต คุณจะต้องแจ้งข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้านของคุณอย่างแม่นยำ
ราลองมาดูเคล็ดลับง่าย ๆ ในการคำนวณปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมสำหรับบ้านของคุณกัน!

คำนวณขนาดระบบพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับบ้าน: ขั้นที่ 1 ตรวจสอบโครงการโซลาร์เซลล์และเงินอุดหนุนในพื้นที่ของคุณ
สิ่งแรกที่คุณควรตรวจสอบคือ ประเภทของโครงการโซลาร์เซลล์และเงินอุดหนุนที่มีอยู่ในพื้นที่ของคุณ นอกเหนือจากเครดิตภาษีและเงินคืนต่าง ๆ แล้ว แต่ละภูมิภาคยังมีโครงสร้างการสนับสนุนที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจขนาดของระบบของคุณ ผู้ติดตั้งที่ได้รับการรับรองจาก SolarEdge ในพื้นที่ของคุณจะสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า มีอะไรบ้างที่คุณสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่ต่อไปนี้เป็นแนวคิดเบื้องต้นสองสามข้อที่คุณควรศึกษา:
การรับซื้อไฟฟ้าคืนตามอัตรา (Feed-in Tariff: FiT): ในพื้นที่ที่มีระบบการรับซื้อไฟฟ้าคืนตามอัตรา (FiT) บริษัทไฟฟ้าจะจ่ายเงินให้กับผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน (ซึ่งก็คือคุณ!) ในอัตราที่สูงกว่าราคาขายปลีกสำหรับไฟฟ้าที่ป้อนเข้าสู่ระบบกริด เพื่อที่จะได้รับสิทธิ์นี้ มักจะมีเพดานการติดตั้ง (deployment cap) ซึ่งจะจำกัดขนาดของระบบของคุณ

การตรวจสอบเงินอุดหนุนพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ของคุณ คือ ขั้นตอนแรก ในการคำนวณปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ
Net Metering: การไฟฟ้าให้เครดิตสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ที่คุณผลิตแต่ไม่ได้ใช้ โดยพื้นฐานแล้ว ค่าไฟฟ้าที่คุณใช้จากกริด (มักจะใช้ในช่วงเย็น) จะถูกหักลบด้วยเครดิตพลังงานที่ได้รับจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตจากระบบของคุณ

Net Metering: แม้คุณจะไม่ได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตเองทั้งหมด แต่การไฟฟ้าจะมอบเครดิตให้กับคุณ นั่นหมายความว่า ค่าไฟฟ้าที่คุณดึงมาจากระบบสายส่ง (ส่วนมากมักใช้ช่วงเย็น) จะถูกหักล้างด้วยเครดิตพลังงานที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ที่บ้านของคุณเอง
ขั้นที่ 2: คุณใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้านไปมากแค่ไหน
ปริมาณไฟฟ้าที่คุณใช้ภายในบ้าน เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจขนาดระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม โดยปกติแล้ว บ้านของคุณใช้พลังงานไฟฟ้าไปมากน้อยแค่ไหน ต่อไปนี้คือปัจจัยที่ควรพิจารณา:
- จำนวนผู้อาศัยภายในบ้าน
- เครื่องทำความร้อนและเครื่องปรับอากาศ
- เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
- เครื่องทำน้ำอุ่น
- ระบบไฟฟ้าให้แสงสว่าง
- รถยนต์ไฟฟ้า

เพื่อช่วยให้ผู้ติดตั้งประเมินรูปแบบการใช้พลังงานของคุณ พวกเขามักจะขอให้คุณเตรียมใบเสร็จค่าไฟฟ้าล่าสุดสองสามเดือน ซึ่งจะแสดงปริมาณการใช้ไฟฟ้าเป็นหน่วยกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) โปรดจำไว้ว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าอาจสูงขึ้นในบางเดือน (เช่น ช่วงฤดูหนาวที่ต้องใช้ไฟสำหรับแสงสว่างและเครื่องทำความร้อนเพิ่มเติม)


เพื่อช่วยผู้ติดตั้งประเมินรูปแบบการใช้พลังงานของคุณ แนะนำให้เก็บใบเสร็จค่าไฟฟ้าล่าสุดสองสามเดือนไว้แสดง โดยใบเสร็จเหล่านี้จะแสดงปริมาณการใช้ไฟฟ้าเป็นหน่วยกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) อย่าลืมว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าอาจจะสูงขึ้นในบางเดือน (เช่น ช่วงฤดูหนาวที่ต้องใช้ไฟสำหรับแสงสว่างและเครื่องทำความร้อนเพิ่มเติม)
การติดตั้งมิเตอร์วัดไฟฟ้าภายในบ้านถือเป็นอีกวิธีที่ยอดเยี่ยมในการทำความเข้าใจและคำนวณปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมสำหรับคุณ มิเตอร์นี้จะช่วยติดตามรูปแบบการใช้พลังงานของคุณ แม้ยังไม่ได้ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ดังนั้นคุณจะสามารถประเมินขนาดที่เหมาะสมของระบบโซลาร์เซลล์เพื่อรองรับการใช้งานพลังงานของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 3: ออกแบบระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของคุณ
เมื่อผู้ติดตั้งคำนวณปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมสำหรับคุณแล้ว พวกเขาจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ด้วย:
- สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของคุณ
- ปริมาณแสงแดดที่ได้รับ
- ขนาดและทิศทางของหลังคา (สำหรับระบบที่ติดตั้งบนหลังคา) หรือขนาดพื้นที่ว่าง (สำหรับระบบที่ติดตั้งบนพื้นดิน) ตัวอย่างเช่น หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีปริมาณแสงแดดน้อย ระบบที่ติดตั้งอาจจะมีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้สามารถผลิตพลังงานได้เทียบเท่ากับระบบที่ติดตั้งในพื้นที่ที่มีปริมาณแสงแดดจัด
เนื่องจากการผลิตพลังงานจากระบบโซลาร์เซลล์อาจไม่ตรงกับรูปแบบการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้านเสมอไป โดยทั่วไปพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกผลิตในช่วงกลางวัน ขณะที่คนในบ้านมักจะใช้ไฟฟ้าในช่วงเช้าและเย็น ดังนั้นคุณอาจเลือกที่จะติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ไว้ใช้ในภายหลัง
อีกปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการคำนวณปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ที่บ้านของคุณคือ ประเภทของระบบที่คุณวางแผนจะติดตั้ง ตัวอย่างเช่น อินเวอร์เตอร์โซลาร์เซลล์ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยี Module-Level Power Electronics (MLPE) จะช่วยให้แต่ละแผงโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานได้อย่างเต็มที่ตามศักยภาพของตัวเอง โดยไม่ถูกรบกวนจากการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์อื่น ๆ นอกจากนี้ เทคโนโลยี MLPE ยังช่วยให้คุณสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้มากขึ้น ด้วยการวางแผงในองศา ทิศทาง และรูปแบบที่แตกต่างกัน ส่งผลให้คุณผลิตพลังงานได้มากขึ้นเพื่อใช้เองภายในบ้านหรือขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบกริด
สำหรับการเปรียบเทียบเทคโนโลยีโซลาร์อินเวอร์เตอร์ประเภทต่าง ๆ โปรดดูวิดีโอนี้
เมื่อผู้ติดตั้งคำนวณขนาดและประเภทของระบบของคุณ พวกเขาจะพิจารณาการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์และการจัดเก็บพลังงานร่วมกันด้วย ระบบที่มีอินเวอร์เตอร์แบบ DC-Coupling (ต่างจากระบบ AC-Coupling) ช่วยให้คุณสามารถกักเก็บพลังงานส่วนเกินที่เกินกว่ากำลังไฟฟ้าของอินเวอร์เตอร์ได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถติดตั้งอินเวอร์เตอร์ขนาด 5 กิโลวัตต์ แต่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 7.75 กิโลวัตต์ ร่วมกับแบตเตอรี่ 5 กิโลวัตต์ทำให้ระบบของคุณมีกำลังไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์รวมทั้งหมด 12.75 กิโลวัตต์
เครื่องมือออกแบบระบบโซลาร์เซลล์
ที่ SolarEdge เราได้พัฒนาเครื่องมือออกแบบบนเว็บไซต์ SolarEdge Designer เพื่อให้ผู้ติดตั้งของเราใช้ในการวางแผน, สร้าง, และตรวจสอบระบบโซลาร์เซลล์ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวไปข้างต้น (และอีกหลายปัจจัย) ทั้งหมด เครื่องมือนี้จะใช้ข้อมูล อาทิเช่น ที่ตั้ง, สภาพภูมิอากาศ, และปัจจัยอื่น ๆ เพื่อออกแบบจำลองหลังคาแบบ 3 มิติ ซึ่งช่วยในการสร้างเค้าโครงระบบโซลาร์เซลล์ ครอบคลุมไปถึงการออกแบบระบบไฟฟ้า การจำลองการผลิตพลังงาน และทุกสิ่งที่จำเป็น เพื่อช่วยให้เจ้าของระบบโซลาร์เซลล์ในอนาคต เข้าใจและมองเห็นภาพบ้านที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างชัดเจน
ติดต่อผู้ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่ได้รับการรับรองจาก SolarEdge ใกล้บ้านคุณ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมสำหรับบ้านของคุณ