พาชมโรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ 2GWh ของเรา
โรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 2 กิกะวัตต์ชั่วโมงแห่งใหม่ของเราที่เกาหลีใต้ ชื่อว่า “Sella 2” จะไม่เพียงช่วยให้เราสามารถผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับใช้เองได้เท่านั้น แต่ยังช่วยขยายขีดความสามารถในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ของเราอีกด้วย

โรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่แห่งใหม่นี้ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Guy Sella ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท, ซีอีโอ, และประธานกรรมการของเรา ซึ่งเสียชีวิตอย่างน่าเศร้าในปี พ.ศ. 2562 โรงงาน Sella 2 จะผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับตลาดต่าง ๆ มากมาย เช่น ระบบกักเก็บพลังงานสำหรับที่พักอาศัยและเชิงพาณิชย์, โซลูชันกักเก็บพลังงานขนาดยูทิลิตี้ (ESS), ยานยนต์ไฟฟ้า, และระบบไฟสำรอง (UPS)
ซีอีโอของเรา Zvi Lando ซึ่งเดินทางไปร่วมพิธีเปิดโรงงานเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กล่าวว่า การเปิดโรงงาน Sella 2 ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ SolarEdge สามารถ "ควบคุมกระบวนการสำคัญในการพัฒนาและผลิตโซลูชั่นกักเก็บพลังงานได้ด้วยตนเอง"

SolarEdge CEO Zvi Lando and CFO Ronen Faier joined the Kokam team to celebrate the opening ceremony of Sella 2 in Eumseong, South Korea
Kokam & Sella 2
บริษัท Kokam ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2532 และถูกซื้อกิจการโดย SolarEdge ในปี พ.ศ. 2561 เป็นบริษัทที่ออกแบบ ผลิตเซลล์ลิเธียมไอออน และมอบโซลูชันแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง
Sella 2 เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2563 และแล้วเสร็จภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี โดยโรงงานมีเครื่องจักรกลอัตโนมัติขั้นสูง เพื่อรองรับการผลิตในปริมาณมากและคุณภาพที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนลูกค้าและการเติบโตของ SolarEdge ครอบคลุมกระบวนการตั้งแต่การผสมสารละลาย การตัด การซ้อน และการบรรจุภัณฑ์ขั้นสุดท้าย โรงงานแห่งนี้ถือเป็นโรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน NMC แบบถุงขนาดกิกะวัตต์ชั่วโมงแห่งแรกของ SolarEdge
การวางแผนความยั่งยืนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อสร้างโรงงาน ตัวอย่างของการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ได้แก่ การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ เช่น สารละลาย NMP ซึ่งใช้ในการผลิตอิเล็กโทรด รวมถึงระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาจาก SolarEdge ที่ออกแบบมาเพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียนให้กับโรงงาน นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งตัวอย่าง นั่นคือ การนำวิธีการประหยัดพลังงานรูปแบบใหม่มาใช้ที่โรงงาน Sella 2 กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในการชาร์จและดึงประจุไฟฟ้าในรอบการก่อตัวของแบตเตอรี่ ข้อจำกัดทางเทคนิคของกระบวนการผลิตแบตเตอรี่แบบเดิม มักทำให้ไฟฟ้าเหล่านี้ถูกปล่อยทิ้งไปโดยไม่ได้นำกลับมาใช้ ในทางกลับกัน วิธีการใหม่ที่วางแผนไว้สำหรับการผลิตที่ Sella 2 ได้รับการออกแบบให้ใช้ “อ่างเก็บพลังงานไฟฟ้า” ช่วยให้สามารถนำไฟฟ้าที่ปล่อยทิ้งกลับมาใช้ใหม่ได้ประมาณ 50%


The interior of the Sella 2 factory in Korea. The production methods were designed with sustainability in consideration.
ความต้องการแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก
ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ กำลังได้รับความนิยมและมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยหลายประการ อาทิ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความพยายามในการปรับปรุงระบบโครงข่ายไฟฟ้า ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ขยายตัว เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศต่างๆ ตลอดจนนโยบายภาษีลดหย่อนและเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ผลักดันให้มีการคาดการณ์ว่า ตลาดระบบกักเก็บพลังงานอาจมีมูลค่าการขายประจำปีเกินกว่า 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นปี 2022
เนื่องจากความต้องการผลิตพลังงานที่เพิ่มขึ้น และแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์นั้นไม่ต่อเนื่อง (เนื่องจากผลิตได้เฉพาะเวลากลางวัน) ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่จึงช่วยให้เรามีพลังงานเพียงพอตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น โมเดลปัจจุบันที่บริษัทผลิตไฟฟ้าเพียงแห่งเดียวส่งไฟให้ผู้ใช้ทั้งหมด ถือว่าล้าสมัยและไร้ประสิทธิภาพ โมเดลอนาคตของการผลิตพลังงานแบบกระจายศูนย์ ขึ้นอยู่กับเจ้าของระบบโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ภายในบ้าน บริษัทผลิตไฟฟ้าสามารถดึงพลังงานจากระบบโซลาร์เซลล์ที่กระจายอยู่ทั่วไป เรียกว่า “โรงไฟฟ้าเสมือนจริง (VPP)” เพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในสถานการณ์นี้ เจ้าของระบบโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่จะกลายเป็น "ผู้ผลิตผู้บริโภค" (prosumers: producers + consumers) โดยได้รับค่าตอบแทนจากการช่วยจ่ายไฟเข้าระบบ จากพลังงานที่ผลิตโดยระบบโซลาร์เซลล์ SolarEdge ของตนเอง