วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ได้ประกาศใช้มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงที่จำเป็นสำหรับการติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปใหม่ทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ซึ่งมีข้อกำหนดที่สำคัญดังต่อไปนี้
AFCI (Arc Fault Circuit Interrupter)
ต้องมี AFCI ทางด้านกระแสตรงของอินเวอร์เตอร์ เพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้เนื่องจากความผิดพร่องจากอาร์คทางด้านกระแสตรงภายใน 2.5 วินาที
Arc Fault คืออะไร?
อาร์คคือปรากฎการณ์ที่กระแสไฟไหลออกจากตัวนำสู่อากาศ ซึ่งสังเกตเห็นได้จากการเกิดประกายไฟ
Arc Fault อันตรายอย่างไร?
ประกายไฟดังกล่าวสามารถเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ได้ หากมีเชื้อเพลิงที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
หากไม่มีเชื้อเพลิงอยู่ใกล้เคียง Arc Fault ทำความเสียหายอื่นได้หรือไม่?
การเกิดประกายไฟ ทำให้มีความร้อนสะสม โดยมากสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส ทำให้อุปกรณ์หลอมละลายเช่น คอนเนคเตอร์ สายไฟ หรือจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ
อินเวอร์เตอร์ที่มี AFCI ป้องกันการเกิดอาร์คได้อย่างไร?
อินเวอร์เตอร์จะทำหน้าที่ตรวจจับความถี่ผิดปกติทางไฟฟ้า และตัดการทำงานของอินเวอร์เตอร์ภายในเวลาไม่กี่วินาที เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าฝั่ง DC เพื่อหยุดอาร์ค
โซลูชั่นของ SolarEdge มีความพิเศษอย่างไรในฟังก์ชั่น AFCI?
ทำงานร่วมกับ Rapid Shutdown - การตัดกระแสฝั่ง DC ไม่อาจตัดแรงดันไฟฟ้าได้ ด้วย Power Optimizer ที่ติดตั้งหลังแผงโซล่าร์ เมื่ออินเวอร์เตอร์ถูกตัดการทำงานแล้ว จะตัดแรงดันตั้งแต่หลังแผงมาอยู่ที่ระดับปลอดภัยต่อการสัมผัสตัวนำเปลือยโดยอัตโนมัติ (Rapid Shutdown) ยิ่งเป็นการลดความเสี่ยงจากอาร์คได้อีกขั้น
Sense Connect - ที่สำคัญ SolarEdge มีฟังก์ชั่นที่เหนือกว่า AFCI คือ Sense Connect ตรวจจับอุณหภูมิผิดปกติที่ทุกคอนเนคเตอร์ซึ่งเป็นสัญญาณของการเกิดอาร์ค และตัดการทำงานของอินเวอร์เตอร์พร้อมแจ้งเตือนแบบตรงจุด เพื่อการจัดการปรับปรุงระบบได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียโอกาสในการใช้ไฟอย่างต่อเนื่อง โอกาสในการเกิดอาร์คในโซลูชั่นของ SolarEdge เรียกได้ว่าแทบไม่มีเลย
มาตรฐานระดับโลกรองรับรายแรก - ด้วย UL3741 SolarEdge เป็นโซลูชั่นรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับใบรับรองนี้ ด้วยจุดยืนที่เป็นผู้นำด้านความปลอดภัยในระบบโซล่าร์ที่มีการใช้งานทั่วโลก
มอนิตอริ่งแบบรายแผง - แจ้งเตือนอย่างตรงจุดด้วยแพลตฟอร์มมอนิตอริ่งที่เห็นความบกพร่องเป็นรายแผง พัฒนามายาวนานถึง 17 ปี เพื่อการจัดการอย่างรวดเร็ว และได้ใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
อุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown)
ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉิน ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
- ลดแรงดันไฟฟ้าในบริเวณ Array Boundary ให้เหลือไม่เกิน 80 โวลต์ ภายใน 30 วินาที หรือใช้อุปกรณ์ควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดไฟดูดที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อพนักงานดับเพลิง ซึ่งต้องมีผลการทดสอบตามขั้นตอน หรือใบรับรองตามมาตรฐาน UL3741 โดยรายงานผลการทดสอบต้องออกโดยสถาบันหรือหน่วยงานทดสอบที่เป็นกลาง และได้มาตรฐาน ได้แก่ TUV, VDE, Bureau Veritas, UL, CSA, InterTek หรือ PTEC
- ลดแรงดันไฟฟ้าในสายเคเบิลที่อยู่นอกบริเวณ Array Boundary ให้เหลือไม่เกิน 30 โวลต์ ภายใน 30 วินาที
- ต้องมีการระบุอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉิน โดยติดตั้งสวิตช์เริ่มการทำงานในตำแหน่งที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น ผนังใกล้ทางเข้าอาคาร เป็นต้น
Rapid Shutdown ทำงานอย่างไร?
ระบบโซล่าร์ที่ไม่มี Rapid Shutdown เมื่อตัดการทำงานอินเวอร์เตอร์ สามารถตัดกระแสได้ แต่ไม่สามารถตัดแรงดันไฟฟ้าได้หากมีแสงอาทิตย์ตกกระทบบนหน้าแผงโซล่าร์อยู่ตลอดเวลา แรงดันนี้สูงถึง 400 - 1,000 โวลต์ อันตรายได้ถึงชีวิต
Rapid Shutdown เพื่อใคร?
อันดับแรก เพื่อความปลอดภัยต่อนักดับเพลิงหรือกู้ภัยที่ต้องเข้าระงับเหตุเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หากต้องทำงานในพื้นที่มีแรงดันไฟฟ้าสูง มีโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการสัมผัสต่อสายไฟหรือข้อต่อเปลือย
หากนักดับเพลิงมีอุปสรรคในการระงับเหตุในอาคารนั้น ๆ ความสูญเสียที่จะเกิดคือชีวิตของคนที่อยู่ภายในอาคาร และธุรกิจและทรัพย์สินตามมา
Rapid Shutdown ของ SolarEdge ดีกว่าอย่างไร?
อัตโนมัติ - Rapid Shutdown ของ SolarEdge เกิดจากการทำงานร่วมกันของอินเวอร์เตอร์ และ Power Optimizer เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะกดสวิตช์ฉุกเฉินที่อยู่หน้าอาคาร หรือไฟฟ้าจากกริดหรือภายในอาคารขัดข้อง ฟังก์ชั่น Rapid Shutdown จะทำงานอัตโนมัติ
เสถียรภาพในการสื่อสาร - การทำงานระหว่างกันระหว่าง 2 อุปกรณ์นี้เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ เนื่องจากการสื่อสารแบบ Power Line Communication ไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ที่อาจเกิดการขัดข้องของการสื่อสารหรือเสื่อมสภาพโดยกาลเวลา
ด้วย SolarEdge ผู้นำอุตสาหกรรมที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในด้านความปลอดภัยของ PV คุณจะอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของไทยในการติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อป ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยในหลายแพลตฟอร์ม โซลูชั่นของ SolarEdge เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย PV ใหม่ของประเทศไทยและระดับสากล
เปรียบเทียบระหว่าง SolarEdge Power optimizer > แบรนด์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้าย Optimizer > สตริงอินเวอร์เตอร์ที่มี Rapid Shutdown
โซลูชั่น SolarEdge | สตริงอินเวอร์เตอร์ที่มี Rapid Shutdown | แบรนด์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้าย Optimizer | |
---|---|---|---|
ผู้ผลิตเดียวกับ อินเวอร์เตอร์ | |||
รับประกัน Power Optimizer นาน 25 ปี | |||
รับประกัน อินเวอร์เตอร์ 12-20 ปี | |||
การสื่อสารผ่าน PLC (Power Line Communication) | |||
การเดินสายไฟเพิ่มเติม | |||
การมอนิตอริ่งในระดับแผง | |||
ซอฟต์แวร์การออกแบบ | (เปิดตัว Q4/2566) | ||
Rapid Shutdown | |||
AFCI | |||
Sense Connect | |||
SafeD | |||
UL1699B:2018 | |||
UL1741/UL3741 | |||
โครงการที่ติดตั้งในประเทศไทย | มากกว่า 3,000 โครงการ | N/A | จำนวนโครงการน้อย |
ประสบการณ์ ของทีมเซอร์วิส | ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 | ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 | ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 |