Cybersecurity สำคัญต่อความปลอดภัยของระบบโซล่าเซลล์อย่างไร?

สารบัญ
- Cybersecurity คืออะไร
- Cybersecurity สำคัญอย่างไรในโลกดิจิทัล
- ความเสี่ยงด้าน Cybersecurity ในระบบโซล่าเซลล์
- ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบในระบบโซล่าเซลล์
- ผลกระทบต่อระบบโซล่าเซลล์จากการโจมตีทางไซเบอร์
- การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระบบโซล่าเซลล์
- แนวทางการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของเจ้าของระบบ
- วางแผนติดตั้งโซล่าเซลล์ เลือกผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์จาก SolarEdge
ในโลกยุคดิจิทัล “ข้อมูล” (Data) ถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าต่อธุรกิจ และเป็นที่ต้องการของกลุ่มแฮกเกอร์และเหล่ามิจฉาชีพ ด้วยเหตุนี้ การป้องกันข้อมูลด้วยมาตรการ Cybersecurity หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งนอกจากอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์อย่างอินเวอร์เตอร์สมัยใหม่ก็มีความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้อย่างมหาศาล
มาเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Cybersecurity สำคัญอย่างไรในการป้องกันข้อมูลและความเสี่ยงในระบบโซล่าเซลล์ รูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่างๆ และวิธีการป้องกันเบื้องต้น
Cybersecurity คืออะไร
Cybersecurity คือ มาตรการในการรักษาข้อมูลและความปลอดภัยของระบบต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ คลาวด์ และอุปกรณ์อื่นๆ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันการเข้าถึง แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงผู้ไม่หวังดีหรือผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมาะสม
อย่างที่กล่าวไปอย่างต้น ข้อมูลส่วนตัวถือเป็นสิ่งมีค่าที่เหล่ามิจฉาชีพต้องการ เพราะสามารถนำไปใช้ในการสร้างผลประโยชน์ในทางที่ผิด เช่น การโจรกรรมทางการเงิน เรียกค่าไถ่ข้อมูล และโจมตีองค์กรหรือบุคคลเพื่อให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ด้วยเหตุนี้ การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
Cybersecurity สำคัญอย่างไรในโลกดิจิทัล
- การปกป้องข้อมูล - ข้อมูลถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าและมีความสำคัญสำหรับธุรกิจ องค์กร และบุคคล การรั่วไหล สูญหายหรือถูกโจมตี อาจสร้างความเสียหายอย่างมาก ทั้งด้านการเงิน ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือ
- การรักษาความปลอดภัยของระบบ - ระบบต่างๆ เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือเครือข่ายธุรกิจ ล้วนเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งอาจทำให้ระบบหยุดทำงาน บริการล่ม หรือข้อมูลสูญหาย
- การป้องกันภัยคุกคาม - ภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีหลากหลายรูปแบบ เช่น มัลแวร์ (Malware), ฟิชชิง (Phishing), มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware), สแปม (Spam) ไปจนถึงการลอกลวงโดยมิจฉาชีพที่พบเห็นได้บ่อย ซึ่งทั้งหมดล้วนสามารถสร้างความเสียหายได้ทั้งสิ้น
- การเสริมสร้างความมั่นใจ - องค์กรที่มีการวางมาตรการ Cybersecurity ที่ดี จะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า พนักงาน และนักลงทุนว่าข้อมูลและระบบที่ใช้งานมีความปลอดภัย
- การปฏิบัติตามข้อกฎหมาย - กฎหมายหลายฉบับในปัจจุบันกำหนดให้ธุรกิจ องค์กร และบุคคล ต้องมีมาตรการป้องกันข้อมูลและระบบ เช่น GDPA ในประเทศแถบยุโรป และ PDPA ที่บังคับใช้ในไทย หากองค์กรละเลย Cybersecurity จนเกิดผลกระทบต่อข้อมูล อาจทำให้มีบทลงโทษทางกฎหมายตามมา
ความเสี่ยงด้าน Cybersecurity ในระบบโซล่าเซลล์
เมื่อพูดถึงระบบพลังงานสะอาดอย่างระบบโซล่าเซลล์ ความเสี่ยงด้าน Cybersecurity ก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการรวบรวมสถิติของ U.S. Energy Information Administration (EIA) พบว่า สหรัฐอเมริกาประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ต่อสาธารณูปโภคที่เพิ่มสูงถึง 70% นอกจากนี้ จากข้อมูลการศึกษาของ University of Maryland พบว่าระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกมีแฮกเกอร์พยายามโจมตีระบบทุกๆ 39 วินาที หรือประมาณ 2,244 ครั้งต่อวัน ซึ่งรวมถึงระบบควบคุมพลังงานทดแทนอย่างระบบโซล่าเซลล์อีกด้วย
ทั้งนี้ ระบบโซล่าเซลล์ในปัจจุบันที่มีความทันสมัยมากขึ้นมักประกอบด้วยหลายส่วนที่เสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทำให้เกิดพื้นที่การโจมตี (Attack Surface) มากขึ้น เช่น เครื่องอินเวอร์เตอร์ แพลตฟอร์มควบคุมและจัดการระบบ รวมถึงระบบการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบในระบบโซล่าเซลล์
การโจมตีระบบโซล่าเซลล์ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ โดยมีความซับซ้อนและวิธีการที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างการโจมตีทางไซเบอร์ที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้
1. การโจมตีอินเวอร์เตอร์ (Inverter Attacks)
อินเวอร์เตอร์ในระบบโซล่าเซลล์เป็นจุดเสี่ยงสำคัญ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อติดตามสถานะการทำงานของระบบและจัดการอุปกรณ์ต่างๆ โดยการโจมตีมักเกิดจากช่องโหว่ในเฟิร์มแวร์ (Firmware) หรือผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น การอัปเดตเฟิร์มแวร์อาจเปิดพอร์ตเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไว้ ทำให้ระบบเสี่ยงต่อการถูกเจาะ
แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงระบบผ่านพอร์ตที่เปิดอยู่ เมื่อเข้าควบคุมได้แล้ว แฮกเกอร์จะสามารถจัดการกับระบบได้ทั้งหมด ทั้งการขัดขวางการสื่อสาร การปรับเปลี่ยนการทำงาน หรือแม้กระทั่งปิดการทำงานของอินเวอร์เตอร์
2. การโจมตีระบบ SCADA (SCADA Attacks)
ระบบ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) ที่ใช้ในการติดตั้งโซล่าเซลล์อาจมีช่องโหว่ เพราะมักถูกออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าการรักษาความปลอดภัย แต่เดิมระบบนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เครือข่ายไฟฟ้า แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากระบบแบบปิด (Isolated Systems) ไปเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อออนไลน์ ทำให้มีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์มากขึ้น
แฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัยและช่องทางการสื่อสารที่ไม่ปลอดภัย เพื่อเข้าถึงระบบ ซึ่งเมื่อเข้าไปได้แล้ว แฮกเกอร์จะสามารถจัดการกับซอฟต์แวร์ควบคุม ใส่ข้อมูลปลอม หรือแม้แต่ปิดใช้งานฟังก์ชันที่สำคัญ
3. การโจมตีเครือข่าย (Network Attacks)
แฮกเกอร์สามารถโจมตีการติดตั้งโซล่าเซลล์ผ่านการโจมตีเครือข่าย (LAN/WAN) โดยใช้ประโยชน์จากพอร์ตอินเทอร์ที่เปิดอยู่ จากนั้นจึงอาจส่งมัลแวร์หรือไวรัสเข้าสู่ระบบ รวมถึงดักจับการสื่อสาร และสามารถขัดขวางการทำงานของระบบหรือเรียกค่าไถ่ เพื่อแลกกับข้อมูลละเอียดอ่อนที่ถูกขโมยไป
4. การโจมตีระบบคลาวด์ (Cloud-Based Attacks)
แฮกเกอร์สามารถโจมตีการติดตั้งโซล่าเซลล์ผ่านการโจมตีที่อิงจากคลาวด์ โดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการเข้าสู่ระบบและการสกัดกั้นการสื่อสารผ่านการโจมตีแบบ man-in-the-middle (MITM)
ในสภาพแวดล้อมที่อิงจากคลาวด์ ที่การติดตั้งโซล่าเซลล์อาศัยแพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับการติดตามระยะไกลและการจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลการเข้าสู่ระบบที่อ่อนแอหรือถูกบุกรุกสามารถให้แฮกเกอร์เข้าถึงระบบที่ละเอียดอ่อนโดยตรง เมื่อพวกเขาได้รับการเข้าถึง แฮกเกอร์ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่าหรือเข้าถึงข้อมูล
5. การโจมตีระบบจัดการพลังงาน (EMS Attacks)
แฮกเกอร์สามารถโจมตีระบบจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) ผ่านช่องโหว่ระหว่างการส่งข้อมูลการเข้าสู่ระบบ โดยหลักระบบ EMS จะติดตามและควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งมักสามารถเข้าถึงได้จากระยะไกล หากผู้โจมตีได้รับข้อมูลและรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ ไม่ว่าจะผ่านการฟิชชิง (Phishing) หรือวิธีอื่นๆ ก็จะสามารถเข้าถึง EMS ได้ทันที
6. การโจมตีผ่านระบบของผู้ให้บริการ (3rd-Party Service Provider Attacks)
แฮกเกอร์สามารถโจมตีระบบพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านผู้ให้บริการบุคคลที่สาม โดยการหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ในฝั่งผู้ให้บริการระบบ (Vendor) โดยแฮกเกอร์อาจเจาะระบบของผู้ให้บริการ และเข้าถึงเครือข่ายของระบบโซล่าเซลล์ของลูกค้าแต่ละราย การโจมตีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการคัดเลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์อย่างละเอียดถี่ถ้วน และการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการปฏิบัติตามแนวทางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
ผลกระทบต่อระบบโซล่าเซลล์จากการโจมตีทางไซเบอร์
ผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบโซล่าเซลล์มีหลากประการที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น
-
การหยุดชะงักของแหล่งพลังงาน
การโจมตีที่ประสบความสำเร็จสามารถทำให้ฟาร์มโซล่าเซลล์และเครือข่ายไฟฟ้าเกิดความไม่เสถียร ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักในการผลิตและจ่ายพลังงาน นำไปสู่ไฟฟ้าดับหรือการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างจำกัดสำหรับธุรกิจและครัวเรือน
-
ผลกระทบทางการเงินและต้นทุน
บริษัทโซล่าเซลล์อาจประสบกับการขาดทุนทางการเงินเนื่องจากการหยุดดำเนินงาน การซ่อมแซมที่มีราคาแพง และการสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่า
-
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
การโจมตีทางไซเบอร์ที่ประสบความสำเร็จสามารถนำไปสู่การละเมิดข้อมูลของลูกค้าผู้ใช้บริการ และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ทำให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือเป็นความลับของธุรกิจถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ
-
ผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจหลัก
การโจมตีทางไซเบอร์สามารถทำลายชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทโซล่าเซลล์ในสายตาของลูกค้าและนักลงทุน และอาจสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งที่มีมาตรการความปลอดภัยที่แข็งแกร่งกว่า
การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระบบโซล่าเซลล์

การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระบบโซล่าเซลล์นั้นมีหลากหลายวิธีการ ทั้งนี้ธุรกิจควรประยุกต์ใช้แนวทางต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเกราะป้องกันทางไซเบอร์อย่างรอบด้าน ได้แก่
1. การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ (Device Security)
การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ปลายทางอย่างอินเวอร์เตอร์ในระบบโซล่าเซลล์ของแต่ละไซต์นั้นเป็นแนวทางการป้องกันอันดับต้นๆ ในการลดความเสี่ยงจากภัยทางไซเบอร์ เช่น การตั้งรหัสผ่านที่แข็งแรง มีการติดตั้งระบบตรวจจับและป้องกันความผิดปกติของอุปกรณ์ขณะทำงาน อีกทั้งควรทำการตรวจสอบช่องโหว่ในซอฟต์แวร์และอัปเดตอย่างเสมอ
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ระบบโซล่าเซลล์จากผู้ผลิตบางรายนั้นมาพร้อมความปลอดภัยตั้งแต่การออกแบบ (Security by Design) ซึ่งสามารถมอบความปลอดภัยได้ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน
2. การปกป้องข้อมูล (Data Protection)
ธุรกิจและบริษัทผู้ให้บริการล้วนต้องทำตามปฏิบัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่มีความอ่อนไหวจะถูกเก็บเป็นความลับ และมีมาตรการป้องกันที่แข็งแกร่ง โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับโซล่าเซลล์ควรมีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ระหว่างรับ-ส่งข้อมูลจากไซต์สู่ระบบมอนิตอริ่ง ไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไว้บนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่าย รวมถึงทำการทดสอบช่องโหว่ของระบบอย่างสม่ำเสมอ
3. การป้องกันเครือข่าย (Network Safeguard)
เครือข่าย หรือ Network เป็นส่วนที่เสี่ยงต่อการโจมตีอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่ออุปกรณ์ IoT อย่างอินเวอร์เตอร์ และแอปพลิเคชันระบบโซล่าเซลล์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น แบรนด์ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการด้านพลังงานหมุนเวียนที่มีระบบเหล่านี้ ควรจัดตั้งมาตรการเพื่อป้องกันเครือข่ายอย่างครอบคุลม เช่น การทำเกตเวย์เดียวไปยังไซต์ (Single Gateway) โดยใช้ตัวควบคุมหรืออินเวอร์เตอร์เป็นจุดเข้าถึงเดียวเท่านั้น ประกอบกับมีการตรวจสอบและกรองคำสั่งก่อนดำเนินการ และสร้างช่องทางการสื่อสารที่ปลอดภัย มีการเข้ารหัส (Encyption) ข้อมูลอยู่เสมอ
4. การมองเห็นและการควบคุม (Visibility & Control)
หากเกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย ควรมีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ พร้อมมีทีมความปลอดภัยคอยติดตาม วิเคราะห์ และแก้ไขเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์
สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่น Cybersecurity จาก SolarEdge คลิกที่นี่
แนวทางการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของเจ้าของระบบ
สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของระบบ หรือกำลังพิจารณาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ควรให้ความสำคัญกับด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. เลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่เหมาะสม
เลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยตรวจสอบเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย การอัปเดตซอฟต์แวร์และแพตช์อุปกรณ์ รวมถึงบริการหลังการขายเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย
2. การรักษาความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์
แน่นอนว่าในการใช้งานโซล่าเซลล์ เจ้าของสามารถเริ่มต้นรักษาความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง เช่น เปลี่ยนรหัสผ่านเริ่มต้นบนอุปกรณ์ทั้งหมดให้เป็นรหัสผ่านใหม่ทันทีหลังการติดตั้ง พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบโซล่าเซลล์ว่าได้รับการอัปเดตเฟิร์มแวร์ล่าสุด และจำกัดการเข้าถึงผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์ผ่านแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์ม โดยใช้งานผ่านอุปกรณ์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ที่แน่ใจว่ามีความปลอดภัย
3. ความสามารถในการตรวจสอบและตอบสนองต่อภัยคุกคาม
ควรตรวจสอบกิจกรรมและประสิทธิภาพของระบบโซล่าเซลล์อย่างสม่ำเสมอ คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่ดูผิดปกติในด้านประสิทธิภาพการผลิตหรือพฤติกรรมของระบบที่แปลกไป และติดต่อปรึกษากับผู้ติดตั้งหรือแบรนด์ผลิตภัณฑ์ทันที หากสงสัยว่ามีการบุกรุกในระบบ
Cybersecurity ในระบบโซล่าเซลล์เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน เนื่องจากระบบเหล่านี้กลายเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน ประกอบกับความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การแก้ไขและป้องกันระบบจากความเสี่ยงเหล่านี้ต้องอาศัยวิธีการแบบองค์รวมที่ครอบคลุมถึงความปลอดภัยของอุปกรณ์ การปกป้องข้อมูล การป้องกันเครือข่าย และการติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่อง
เมื่อพิจารณาระบบโซล่าเซลล์สำหรับบ้านหรือธุรกิจ ควรเลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและสามารถอธิบายมาตรการที่ใช้ในการปกป้องข้อมูล
ในท้ายที่สุด Cybersecurity ไม่ใช่เพียงการติดตั้งระบบความปลอดภัยแบบครั้งเดียวจบ แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องประเมิน ปรับตัว และปรับปรุงอยู่เสมอ เพราะภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังคงพัฒนาต่อเนื่อง เช่นเดียวกับแนวทางในการรักษาความปลอดภัย
SolarEdge Technologies เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน โดยใช้วิศวกรรมและนวัตกรรมระดับโลกในการพัฒนาโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับกลุ่มลูกค้าในภาคที่อยู่อาศัย ภาคพาณิชย์ และภาคสาธารณูปโภค SolarEdge นำเสนอโซลูชันที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับการผลิต การจัดเก็บ การจัดการ และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทพัฒนาและผลิตอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ Power Optimizer ระบบจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ระบบจัดเก็บพลังงาน และบริการโครงข่ายไฟฟ้า
เทคโนโลยี DC-Optimized ของ SolarEdge ถูกติดตั้งในบ้านหลายล้านหลังในกว่า 140 ประเทศ และมากกว่า 50% ของบริษัท Fortune 100 มีการใช้งานเทคโนโลยีของ SolarEdge บนหลังคาของพวกเขา SolarEdge มีบทบาทสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่โครงข่ายพลังงานแบบกระจายที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ บริษัทยังมีบริการหลังการขายที่ครอบคลุม เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งเจ้าของบ้านและภาคธุรกิจ และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ให้การรับประกันที่ยาวนานที่สุดในตลาดอีกด้วย
ติดต่อเรา
กรอกแบบฟอร์ม คลิก
LINE Official: SolarEdge Thailand
ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก SolarEdge
Facebook: SolarEdge Technologies Inc.
Instagram: @solaredgepv
X: @SolarEdgePV
LinkedIn: SolarEdge Technologies