เตรียมตัวติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ควรทำอะไร เตรียมงบเท่าไหร่?

ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา กระแสที่เป็นที่นิยมอย่างมากก็คือการหันมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าหรือ รถ EV และคนยุคใหม่ก็มีแนวโน้มที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากเป็นทางเลือกในการประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กันคือการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน เพื่ออำนวยสะดวกในการชาร์จแบตเตอรี่ ฉะนั้นมาดูกันว่า ควรเตรียมตัวอย่างไรในการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน การขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ราคาการติดตั้งโดยคร่าวๆ และการใช้โซล่าเซลล์ในการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
ตรวจสอบให้พร้อมก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน
ขั้นตอนแรกในการเตรียมการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า คือ การสำรวจปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่มิเตอร์ไฟฟ้าไปจนถึงประเภทของหัวชาร์จ โดยทั่วไป มี 4 องค์ประกอบสำคัญที่เจ้าของบ้านควรตรวจสอบ ได้แก่
1. ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
อันดับแรกให้สำรวจว่ามิเตอร์ที่ใช้งานมีขนาดเท่าไหร่ โดยสามารถาสังเกตได้จากคำว่า Phase หรือ Type บนมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมิเตอร์ไฟฟ้าในบ้านเรือนทั่วไปมักเป็นแบบ Single-Phase 15(45)A เป็นกำลังไฟที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน EV Charger ที่อาจใช้กำลังไฟสูงถึง 32A หากชาร์จรถไฟฟ้าและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านไปพร้อมกัน อาจทำให้กำลังไฟไม่เพียงพอ และมีโอกาสที่เกิดการใช้ไฟเกิน (Overload) ได้นั่นเอง จึงควรเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าให้เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้งาน
โดยทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แนะนำให้เปลี่ยนเป็นมิเตอร์เป็นขนาด Single-Phase 30(100)A หรือแบบ 3-Phase 15(45)A นอกจากนี้ การเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าต้องมีการเปลี่ยนสายไฟฟ้าภายในบ้านใหม่ รวมถึงเปลี่ยนตู้ Consumer Unit และ Breaker ให้เหมาะกับการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ยังมีทางเลือกอื่นๆ เช่น การติดตั้ง EV Charger ที่บ้านเพิ่มจากโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิม โดยเป็นการติดตั้งสายเมนวงจรที่สองสำหรับ EV Charger โดยเฉพาะ หรือติดตั้งมิเตอร์ลูกที่ 2 สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ
การเลือกขนาดมิเตอร์ที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดของ EV Charger ที่ต้องการติดตั้ง จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้อยู่อาศัย โดยควรให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยรวมก่อนการตัดสินใจ แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนหรือเพิ่มมิเตอร์ก็ตาม เจ้าของบ้านจำเป็นที่ต้องยื่นเอกสารขออนุญาตต่อการไฟฟ้าก่อน
2. ตรวจสอบประเภทหัวปลั๊กรถยนต์
การเลือกประเภทหัวปลั๊กที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการติด Wall Charger ที่บ้าน โดยในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบันมีการใช้หัวชาร์จหลากหลายประเภท โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ได้แก่
- หัวชาร์จธรรมดา (Normal Charger)
หัวชาร์จที่ออกแบบให้ต่อจากเต้ารับไฟฟ้าภายในบ้านได้โดยตรง ซึ่งมักใช้เวลาชาร์จประมาณ 12 - 16 ชั่วโมง และมีการแบ่งประเภทย่อยอีก 2 แบบ คือ
- Type 1 - หัวต่อแบบ 5 Pin ที่รองรับกระแสไฟฟ้า 32 A / 250 V
- Type 2 - หัวต่อแบบ 7 Pin ที่รองรับกระแสไฟฟ้า 70A / 250V และ 3 Phase 63A / 480 V
- หัวชาร์จ Double Speed Charger หรือ Wall Box
หัวชาร์จที่เป็นที่นิยมใช้ในการติด Wall Charger ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า Normal Charger และใช้เวลาชาร์จน้อยกว่า เฉลี่ยอยู่ที่ 4 - 7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับขนาดของ Wall Box โดยสามารถแบ่งหัวชาร์จได้เป็น 2 แบบย่อย คือ
- Type 1 - ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ 1 เฟส รองรับกระแสไฟฟ้า 16A, 40A และ 48A / 240 V
- Type 2 - ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ 3 เฟส รองรับกระแสไฟฟ้า 16A และ 32 A / 250 V
- หัวชาร์จแบบชาร์จเร็ว (Quick Charger)
หัวชาร์จแบบชาร์จเร็วต่างจากสองประเภทข้างต้น เพราะใช้งานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จึงสามารถชาร์จไฟฟ้าได้รวดเร็วกว่ามาก โดยเฉลี่ยสามารถชาร์จแบตเตอรตี่รถไฟฟ้าจาก 0-80% ได้ภายใน 30-60 นาที โดย Quick Charger จะมีหัวชาร์จด้วยกัน 3 ประเภทย่อย ดังนี้
- CHAdeMO - หัวชาร์จที่เป็นมาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น รองรับการชาร์จด้วยความเร็วสูงสุด 100 kW มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา สามารถปลดล็อกได้ที่ตัวหัวชาร์จเองเลย
- CSS - ชื่อเต็มคือ Combined Charging System ที่นำหัวชาร์จแบบ AC Type 2 มาผสมกับ DC จึง มีกำลังในการชาร์จสูงสุดถึง 350 kW และเป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้ในแบรนด์รถยุโรปและจีน
- GB/T - เป็นนวัตกรรมหัวชาร์จจากประเทศจีนที่มีทั้งแบบ AC ที่รองรับกระแสไฟฟ้า 10A, 16A และ 32A/250-440 V และ DC ที่รองรับกระแสไฟฟ้า 80A, 125A, 200A และ 250A/750-1,000
ในประเทศไทยนิยมใช้งานหัวชาร์จแบบ Type 2 เป็นมาตรฐาน ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในประเทศจะใช้หัวชาร์จประเภทนี้เป็นหลัก ส่วนหัวชาร์จแบบ DC ก็มีการใช้งานทั้ง CSS และ CHAdeMO อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ควรตรวจสอบประเภทหัวชาร์จของรถยนต์ตนเองให้แน่ชัดก่อนเลือกซื้อเครื่องชาร์จ
3. ตรวจสอบ On Board Charger ของรถยนต์ไฟฟ้า
On Board Charger เป็นระบบสำคัญที่ควบคุมการรับกระแสไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความเร็วในการชาร์จ โดยทั่วไป On Board Charger จะมีขนาดตั้งแต่ 3.6 kW ไปจนถึง 22 kW ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของรถ การเลือกขนาดของ EV Charger ควรสอดคล้องกับขนาดของ On Board Charger ของรถยนต์ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการชาร์จ
ตัวอย่างเช่น หากรถยนต์มี On Board Charger ขนาด 7.4 kW การติดตั้งเครื่องชาร์จขนาด 22 kW จะไม่ช่วยให้รถชาร์จเร็วขึ้น เพราะรถจะสามารถรับกำลังไฟได้สูงสุดเพียง 7.4 kW เท่านั้น ดังนั้นจึงควรปรึกษาศูนย์บริการรถยนต์ขอข้อมูลที่ถูกต้องก่อนเลือกซื้อเครื่องชาร์จ
4. ตรวจจุดติดตั้งเครื่อง EV Charger
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน คือ ตำแหน่งติดตั้ง ที่ส่งผลต่อความสะดวกในการใช้งานและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง โดยควรพิจารณาระยะห่างระหว่างจุดติดตั้งเครื่องชาร์จกับที่จอดรถ ซึ่งไม่ควรเกิน 5 เมตร เนื่องจากสายชาร์จมาตรฐานมีความยาวจำกัด นอกจากนี้ ควรเลือกจุดที่สะดวกต่อการเดินสายไฟจากตู้เมนไฟฟ้า เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟ
นอกจากความยาวและระยะห่างจากตู้เมนไฟฟ้า แนะนำให้พิจารณาติดตั้งในจุดที่มีหลังคาหรือสิ่งปกคลุม เพื่อป้องกันแดดและฝน แม้ว EV Charger ส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานกันน้ำ แต่การติดตั้งในที่ร่มจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้นานยิ่งขึ้น
ติดตั้ง EV Charger ที่บ้านต้องขออนุญาตไหม

ในการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ต้องขออนุญาต จากการไฟฟ้าในพื้นที่เสมอ โดยแบ่งเป็น 2 หน่วยงานหลักตามพื้นที่ให้บริการ คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดูแลพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ
ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคาเท่าไหร่
ราคาการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้
1. ค่าเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger)
ค่าใช้จ่ายส่วนแรก คือ ค่าเครื่อง EV Charger ซึ่งมีราคาแตกต่างกันตามขนาดกำลังไฟและแบรนด์ผู้ผลิต โดยเครื่องขนาด 3.6 kW มีราคาเริ่มต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาท เครื่องขนาด 7.4 kW ราคาเริ่มต้นประมาณ 30,000 บาท และเครื่องขนาด 11 kW ถึง 22 kW อาจมีราคาตั้งแต่ 50,000 ถึง 100,000 บาท
2. ค่าเพิ่มขนาดมิเตอร์ หรือติดตั้งมิเตอร์ใหม่
สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ต้องติดต่อการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อขออนุญาตติดตั้งหรือเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ โดยกฟน. อนุโลมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถติดตั้ง EV Charger เพิ่มจากโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิมได้ ทั้งนี้ จะมีค่าตรวจสอบในการขอเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้าตั้งแต่ 700 - 2,500 บาท ส่วนใครที่ต้องการเปลี่ยนประเภทมิเตอร์เป็นแบบ TOU อาจมีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตั้งแต่ 6,600 - 7,300 บาท
ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นอกกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ สามารถติดต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบโดยเฉลี่ยที่ 700 - 1,500 บาท ส่วนมิเตอร์ TOU จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ประมาณ 3,700 - 5,300 บาท
3. ค่าติดตั้งอุปกรณ์และการวางระบบไฟฟ้า เพื่อรองรับ EV Charger
มีค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟและติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับระยะทางการเดินสาย ลักษณะของไซต์ และผู้ให้บริการแต่ละราย โดยสามารถเลือกผู้ให้บริการได้ตามความพึงพอใจของเจ้าของบ้าน ซึ่งอาจมีทั้งการบริการเสริมจากแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า การเลือกบริษัทผู้ติดตั้งเอง หรือแม้แต่บริการเพิ่มเติมจากบริษัทรับติดโซล่าเซลล์บ้าน ที่สามารถเชื่อมต่อระบบโซล่าเซลล์เข้ากับอุปกรณ์ EV Charger

นอกเหนือจากความพร้อมด้านสถานที่ ระบบไฟฟ้า และการเงินแล้ว เจ้าของบ้านหรือผู้ที่ต้องการติดตั้ง EV Charger พิจารณาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น
- ยี่ห้อและความน่าเชื่อถือของแบรนด์หรือผู้ผลิตเครื่อง EV Charger ควรเลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือและมีประวัติการให้บริการที่ดี
- ฟังก์ชันหรือฟีเจอร์พิเศษของ EV Charger เช่น เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ เป็นต้น หรืออาจเลือกผลิตภัณฑ์ EV Charger จากแบรนด์ผลิตภัฑณ์ระบบโซล่าก็ได้ เพื่อประสิทธิภาพและความลื่นไหลในการใช้งาน
- ระยะเวลาการรับประกัน รวมถึงเงื่อนไขในการรับประกันผลิตภัณฑ์ว่าเหมาะสมและครอบคลุม
- พิจารณาบริการติดตั้งว่าครอบคลุมถึงด้านใดบ้าง สามารถเดินสายจากตู้เมนไฟฟ้าได้หรือไม่ หรือมีบริการเสริม เช่น การยื่นเรื่องเพิ่มขนาดมิเตอร์กับการไฟฟ้า และบริการซ่อมบำรุงหลังติดตั้ง เป็นต้น
การตัดสินใจติดตั้ง EV Charger ที่บ้านเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและวางแผนอย่างถี่ถ้วน ตั้งแต่การตรวจสอบความพร้อมของระบบไฟฟ้า การเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับรถยนต์ไฟฟ้า รายละเอียดทางเทคนิคต่างๆ ไปจนถึงการเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สามารถต่อยอดการลงทุนใน EV Charger ให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ด้วยการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์มาใช้ในการชาร์จรถ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาวแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
วางแผนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน เลือกผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์จาก SolarEdge
SolarEdge Technologies เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน โดยใช้วิศวกรรมและนวัตกรรมระดับโลกในการพัฒนาโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับกลุ่มลูกค้าในภาคที่อยู่อาศัย ภาคพาณิชย์ และภาคสาธารณูปโภค SolarEdge นำเสนอโซลูชันที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับการผลิต การจัดเก็บ การจัดการ และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทพัฒนาและผลิตอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ Power Optimizer ระบบจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ระบบจัดเก็บพลังงาน และบริการโครงข่ายไฟฟ้า
เทคโนโลยี DC-Optimized ของ SolarEdge ถูกติดตั้งในบ้านหลายล้านหลังในกว่า 140 ประเทศ และมากกว่า 50% ของบริษัท Fortune 100 มีการใช้งานเทคโนโลยีของ SolarEdge บนหลังคาของพวกเขา SolarEdge มีบทบาทสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่โครงข่ายพลังงานแบบกระจายที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ บริษัทยังมีบริการหลังการขายที่ครอบคลุม เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งเจ้าของบ้านและภาคธุรกิจ และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ให้การรับประกันที่ยาวนานที่สุดในตลาดอีกด้วย
ติดต่อเรา
กรอกแบบฟอร์ม คลิก
LINE Official: SolarEdge Thailand
ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก SolarEdge
Facebook: SolarEdge Technologies Inc.
Instagram: @solaredgepv
X: @SolarEdgePV
LinkedIn: SolarEdge Technologies