รู้จักโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร เส้นทางอนาคตการเกษตรที่ยั่งยืน

Content Writer / SolarEdge Thailand
05-03-2025

ปัจจุบัน ต้นทุนพลังงานพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับความตระหนักด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจเกษตรกรรมยุคใหม่มองหาทางออกด้านพลังงานที่ยั่งยืนและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว โดยหนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจคือ โซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร ซึ่งกำลังได้รับความสนใจในวงการเกษตรกรรมไทย ด้วยคุณสมบัติในการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพในการทำเกษตร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เทคโนโลยีนี้กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาการทำเกษตรให้ก้าวหน้าและยั่งยืน

โซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรคืออะไร

โซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร คือ การนำเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์หรือระบบโซล่าเซลล์มาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทางการเกษตร เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตรต่างๆ เช่น ระบบปั๊มน้ำ ระบบให้แสงสว่าง หรือระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน

ระบบ โซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งอื่นๆ เช่น ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า หรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่อาจมีราคาสูง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนในระยะยาวแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยเฉพาะสำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ห่างไกลและเข้าถึงไฟฟ้าได้ยาก โซล่าเซลล์ใช้ในสวนในไร่จึงเป็นทางออกที่ตอบโจทย์สำหรับการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

ประเภทของโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร

ในการเลือกใช้โซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร มีระบบโซล่าเซลล์หลายรูปแบบที่ควรทำความรู้จัก เพื่อให้สามารถตัดสินใจติดตั้งได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรได้ 3 ประเภท ตามลักษณะการติดตั้ง ดังนี้ 

1. โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop)

โซล่ารูฟท็อป คือ ชื่อเรียกระบบโซล่าเซลล์ที่ถูกติดตั้งบนหลังคาอาคารหรือโรงเรือน ซึ่งเหมาะสำหรับฟาร์มหรือไร่นาที่มีอาคารพร้อมใช้งาน ช่วยประหยัดพื้นที่ดินและไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำการเกษตร 

2. โซล่าฟาร์ม (Solar Farm)

เป็นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวนหลายพันแผงบนพื้นดินหรือพื้นที่โล่งที่มีแสงอาทิตย์ส่องถึง เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณมาก จึงตอบโจทย์เกษตรกรผู้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ต้องการผลิตไฟฟ้าใช้เอง หรือต่อยอดเป็นธุรกิจโซล่าฟาร์ม เพื่อขายไฟให้กับการไฟฟ้า

3. โซล่าลอยน้ำ (Floating Solar)

คือ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนผิวน้ำ เช่น บ่อน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ โดยมีทุ่นลอยน้ำรองรับแผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากน้ำสามารถช่วยระบายความร้อนให้แผงโซล่าเซลล์ และยังช่วยลดการระเหยของน้ำได้อีกด้วย

ประเภทการเชื่อมต่อระบบโซล่าเซลล์

นอกจากรูปแบบการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรแล้ว ระบบโซล่าเซลล์ยังสามารถแบ่งประเภทได้ตามรูปแบบการเชื่อมต่อ  โดยมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่

1. ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On Grid)

โซล่าเซลล์ออนกริด ผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ พร้อมเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายของการไฟฟ้า ทำให้สามารถใช้ได้ทั้งไฟจากการไฟฟ้า และพลังงานที่ผลิตเอง ข้อดีคือไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน จะมีหรือไม่มีแบตเตอรี่ก็ได้ เพราะสามารถดึงไฟฟ้าจากระบบหลักมาใช้ได้ในช่วงที่ผลิตไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอ หรือช่วงเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงแดด เหมาะสำหรับฟาร์มที่มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าอยู่แล้ว

2. ระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off Grid)

ระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากการผลิตของแผงโซล่าเป็นหลัก ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า จึงเหมาะสำหรับพื้นที่เกษตรกรรมที่ห่างไกลหรือไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ซึ่งต้องมีการติดตั้งแบตเตอรี่โซล่าเซลล์เพิ่มเติมเพื่อกักเก็บพลังงานไว้ใช้ในเวลาที่ไม่มีแสงแดด ถึงแม้จะมีต้นทุนสูงกว่าเนื่องจากต้องลงทุนในอุปกรณ์เพิ่มเติม แต่ก็ให้อิสระในการใช้พลังงานโดยไม่ต้องพึ่งพาการไฟฟ้า

3. ระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด (Hybrid)

ระบบไฮบริดเป็นการผสมผสานจุดแข็งระหว่างระบบออนกริดและออฟกริด โดยมีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าหลักและมีการติดตั้งแบตเตอรี่สำรอง ทำให้ระบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง สามารถจ่ายพลังงานจากระบบโซล่าหรือพร้อมกับแบตเตอรี่ หรือหากมีการใช้ไฟมากกว่านี้ยังใช้ไฟจากการไฟฟ้าร่วมด้วยก็ได้ (On Grid) หากเกิดไฟฟ้าขัดข้อง เช่น ไฟดับ ก็ยังสามารถใช้ไฟจากแบตเตอรี่ได้ (Off Grid) ส่งผลให้มีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องและให้เสถียรภาพที่ดีกว่า สามารถเลือกใช้พลังงานจากแหล่งที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละช่วงเวลา ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานและลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร 

1. ช่วยประหยัดค่าไฟ

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรอันดับแรก คือ ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในระยะยาว แม้จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งครั้งแรก แต่เมื่อเทียบกับค่าไฟที่ต้องจ่ายทุกๆ เดือน การลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์จึงคุ้มค่ามากกว่า โดยจะได้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตรที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก เช่น ฟาร์มปศุสัตว์หรือโรงเรือนเพาะปลูก

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร

ระบบโซล่าเซลล์ช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เช่น ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ช่วยให้พืชได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ ระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น

3. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับแนวคิดการทำเกษตรแบบยั่งยืน นอกจากนี้ การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ ซึ่งเป็นการร่วมแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม

4. เพิ่มความยั่งยืนทางพลังงาน

โซล่าเซลล์ ช่วยให้เกษตรกรลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานจากแหล่งภายนอก และมีความมั่นคงทางพลังงานมากขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟดับหรือราคาพลังงานที่ผันผวน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่การเข้าถึงไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึง การใช้โซล่าเซลล์ ช่วยให้สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องและไม่ถูกจำกัดด้วยข้อจำกัดด้านพลังงาน

5. เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว

แผงโซล่าเซลล์ มีอายุการใช้งานยาวนานเฉลี่ย 25 - 30 ปี ถึงแม้จะมีต้นทุนสูงในการลงทุนครั้งแรก แต่ค่าไฟฟ้าที่ถูกลงในระยะยาวทำให้คืนทุนได้ภายในระยะเวลา 3 - 7 ปี ขึ้นอยู่กับขนาดของระบบและปริมาณการใช้งาน หลังจากนั้นจะเป็นการประหยัดต้นทุนอย่างแท้จริง ซึ่งหากถามว่าติดโซล่าเซลล์คุ้มไหม ก็พูดได้ว่าการติดโซล่าเซลล์คุ้มค่าอย่างแน่นอนสำหรับเกษตรกรที่วางแผนทำการเกษตรในระยะยาว

ตัวอย่างการใช้โซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร 

โซล่าเซลล์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทางการเกษตรได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์หรือระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยตัวอย่างการใช้งานที่พบเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน ได้แก่

  • ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ - ในการทำไร่นาหรือสวน ปฏิเสธไม่ได้ว่าปั๊มน้ำเป็นระบบสำคัญที่ช่วยในการรดน้ำพันธุ์พื้นต่างๆ หรือในฟาร์มฟาร์มปศุสัตว์ก็จำเป็นต้องมีระบบปั๊มน้ำเช่นกัน การนำระบบปั๊มน้ำมาผสมผสานเข้ากับระบบโซล่าเซลล์ สามารถช่วยให้เกษตรกรสามารถสูบน้ำได้โดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าจากการไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถออกแบบระบบให้ทำงานโดยอัตโนมัติตามความเข้มของแสงแดด หรือตั้งเวลาตามความต้องการใช้น้ำของพืช ลดค่าไฟที่ต้องใช้ในการสูบน้ำในช่วงฤดูร้อน หรือช่วงที่ใช้น้ำมาก
  • ระบบระบายความร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ - การควบคุมอุณหภูมิเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในโรงเพาะปลูกหรือฟาร์มปศุสัตว์ ดังนั้นการมีพลังงานจากระบบโซล่าเซลล์ช่วยให้สามารถควบคุมอุณหภูมิในพื้นที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าไฟที่สูงขึ้น ส่งผลให้สัตว์และพืชมีสุขภาพดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
  • ระบบแสงสว่าง - การใช้พลังงานที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์เพื่อให้แสงสว่างในฟาร์มหรือโรงเรือน เป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตและความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพืชที่ต้องการแสงสว่างหรือการเลี้ยงสัตว์ที่ต้องการการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งระบบไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดอัตโนมัติ หรือทำงานตามความเข้มของแสงธรรมชาติ ช่วยให้พืชและสัตว์ได้รับแสงสว่างที่เหมาะสม
  • ระบบพ่นยาฆ่าแมลง - เครื่องพ่นยาฆ่าแมลง ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยให้เกษตรกรสามารถดูแลพืชผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการชาร์จแบตเตอรี่หรือการเติมน้ำมัน ซึ่งตอบโจทย์เกษตรรายย่อยอย่างมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลพืชผลได้อย่างเต็มที่ โดยอาจเป็นการชาร์จไฟฟ้าเข้าเครื่องพ่น หรือวางระบบควบคุมการพ่นละอองที่ใช้ไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์โดยตรงก็ทำได้เช่นกัน

โซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ที่ต้องการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้งครั้งแรก แต่ผลตอบแทนในระยะยาวทั้งในแง่ของการประหยัดค่าใช้จ่าย การเพิ่มผลผลิต และการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจการเกษตร ทำให้เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาการทำเกษตรของตนให้ก้าวหน้าและยั่งยืน

นอกจากนี้ การเลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ จะช่วยให้การลงทุนในระบบโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งควรเลือกผลิตภัณฑ์ระบบโซล่าเซลล์ที่ทันสมัย เช่นผลิตภัณฑ์จาก SolarEdge ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานอัจฉริยะระดับโลก และคุ้มค่าที่สุด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานให้สูงสุด พร้อมระบบความปลอดภัยที่ครบครัน

วางแผนติดตั้งโซล่าเซลล์ เลือกผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์จาก SolarEdge 

SolarEdge Technologies เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน โดยใช้วิศวกรรมและนวัตกรรมระดับโลกในการพัฒนาโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับกลุ่มลูกค้าในภาคที่อยู่อาศัย ภาคพาณิชย์ และภาคสาธารณูปโภค SolarEdge นำเสนอโซลูชันที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับการผลิต การจัดเก็บ การจัดการ และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทพัฒนาและผลิตอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ Power Optimizer ระบบจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ระบบจัดเก็บพลังงาน และบริการโครงข่ายไฟฟ้า

เทคโนโลยี DC-Optimized ของ SolarEdge ถูกติดตั้งในบ้านหลายล้านหลังในกว่า 140 ประเทศ และมากกว่า 50% ของบริษัท Fortune 100 มีการใช้งานเทคโนโลยีของ SolarEdge บนหลังคาของพวกเขา SolarEdge มีบทบาทสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่โครงข่ายพลังงานแบบกระจายที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ บริษัทยังมีบริการหลังการขายที่ครอบคลุม เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งเจ้าของบ้านและภาคธุรกิจ และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ให้การรับประกันที่ยาวนานที่สุดในตลาดอีกด้วย

ติดต่อเรา 

กรอกแบบฟอร์ม คลิก

LINE Official: SolarEdge Thailand

ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก SolarEdge

Facebook: SolarEdge Technologies Inc.

Instagram: @solaredgepv

X: @SolarEdgePV 

LinkedIn: SolarEdge Technologies

บทความที่เกี่ยวข้อง