5 วิธีประหยัดพลังงานในโรงงาน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ

โรงงานอุตสาหกรรมถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการจัดการการใช้ไฟฟ้าในโรงงานปริมาณมาก และใช้งานอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูง และต้นทุนการดำเนินการจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ การใช้พลังงานในปริมาณมากยังส่งผลให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ซึ่งกำลังเป็นประเด็นสำคัญในหลายประเทศ ดังนั้น การมองหาวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ
บทความนี้ได้รวบรวมวิธีการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่เจ้าของโรงงานและผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดค่าไฟโรงงานและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
1. ติดตั้งอุปกรณ์หรือระบบลดความร้อน
การประหยัดพลังงานในโรงงาน เริ่มต้นได้จากการจัดการความร้อน เนื่องจากระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นภายในโรงงานเป็นระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณมาก โดยสามารถจัดการกับปัญหาความร้อนภายในโรงงานได้หลากหลายวิธี ดังนี้
-
ติดตั้งฉนวนกันความร้อน
การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจึงเป็นวิธีที่ช่วยลดพลังงานในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหลังคา หรือกำแพงของโรงงาน โดยเป็นการช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดภายนอก จึงเป็นการช่วยลดอุณหภูมิ ลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ และรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมภายในพื้นที่ปิด
-
ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ (Cooling Tower)
การติดตั้งระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ (Cooling Tower) ยังช่วยระบายความร้อนออกจากระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ คูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอหล่อเย็น คือ อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน โดยมีหลักการทำงาน คือ ปั๊มน้ำขึ้นไปยังส่วนบนของคูลลิ่งทาวเวอร์เพื่อฉีดให้เป็นฝอย แล้วตกลงในถังตอนล่างของคูลลิ่งทาวเวอร์ แล้วเมื่อน้ำร้อนจากคอนเดนเซอร์ไหลมาที่คูลลิ่งทาวเวอร์ จะมีการสเปรย์น้ำร้อนออก เมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ส่งผลให้ความหนาแน่นลดลง จากนั้นอากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น อากาศโดยรอบที่เย็นกว่าจึงเข้ามาแทนที่ จึงสามารถใช้ในการระบายความร้อนของน้ำในการหล่อเย็นกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆ เพื่อช่วยลดความร้อนและลดค่าไฟโรงงาน
2. เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน
การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานเป็นวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยควรพิจารณาเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ซึ่งผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดไฟฟ้าตามมาตรฐานของ กฟผ. และเป็นระดับที่ประหยัดไฟสูงสุด อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการจัดระดับดาวตั้งแต่ 1-5 ดวง โดยยิ่งมีจำนวนดาวมากเท่าไหร่ หมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ จะยิ่งช่วยประหยัดไฟได้มากขึ้นเท่านั้น
นอกจากนี้ การเลือกขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับพื้นที่ก็เป็นวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานที่สำคัญไม่แพ้กัน เช่น การคำนวณขนาด BTU ของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ โดยคำนวณที่ 400 - 600 BTU ต่อตารางเมตร หรือการติดตั้งระบบปรับอากาศแบบ HVAC System ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิความเย็นได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง
สำหรับระบบแสงสว่าง การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หรือหลอดไส้ (Incandescent ) แบบเดิม สามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 50-80% และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า จึงช่วยลดทั้งค่าใช้จ่ายทั้งด้านพลังงานและการบำรุงรักษาในระยะยาว
3. บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ
โรงงานอุตสาหกรรมควรวางแผนบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการลดพลังงานในโรงงาน เพื่อให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่ดึงพลังงานไฟฟ้าไปใช้มากจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยลด Downtime ที่เกิดจากเครื่องจักรเสียหายอีกด้วย
ในเบื้องต้น ควรทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักรเป็นประจำ เพื่อป้องกันการสะสมฝุ่น หรือสิ่งสกปรก ที่อาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานหนักขึ้น ตลอดจนการบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่กำหนด พร้อมซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่หากเกิดการชำรุด ยกตัวอย่างเช่น
- ระบบปรับอากาศ - ล้างแอร์และทำความสะอาดแผ่นกรองทุก 3-6 เดือน และตรวจสอบการรั่วไหลของสารทำความเย็นปีละครั้ง
- มอเตอร์และปั๊ม - ตรวจสอบการหล่อลื่น ความตึงของสายพาน และการสั่นสะเทือนเป็นประจำ
- ระบบอัดอากาศ - ตรวจสอบการรั่วไหลของท่อลมและทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกเดือน
- หม้อแปลงไฟฟ้า - ตรวจวัดค่าทางไฟฟ้าและทำความสะอาดทุก 6 เดือน
4. ออกแบบโรงงานด้วยระบบประหยัดพลังงาน
สำหรับผู้ประกอบการที่มีแผนสร้างโรงงานใหม่ รีโนเวท หรือขยายโรงงาน การออกแบบโรงงานให้ประหยัดพลังงานตั้งแต่เริ่มต้นหรือปรับปรุงโรงงานเดิมให้เป็นอาคารเขียว (Green Building) นั้นเป็นวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานที่ดีในระยะยาว โดยอาจเริ่มต้นจากการจัดวางอาคารให้รับลมธรรมชาติและแสงธรรมชาติอย่างเหมาะสม ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน
รวมไปถึงการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ อาทิ ติดตั้งระบบ Building Management System (BMS) เพื่อควบคุมและตรวจสอบการใช้พลังงาน ใช้ระบบเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวสำหรับระบบแสงสว่าง ติดตั้งระบบ HVAC System เพื่อควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติตามการใช้งาน
5. ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

การติดตั้งโซล่าโรงงานนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว พร้อมช่วยช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และยังสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้า (ในกรณีติดตั้งระบบออนกริด) โดยถือเป็นพลังงานสะอาด มีศักยภาพสูง และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
โดยในปัจจุบัน ระบบโซล่าเซลล์มีอยู่ 3 รูปแบบที่โรงงานอุตสาหกรรมและเจ้าของธุรกิจสามารถเลือกติดตั้ง ได้แก่
1. ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On Grid)
โซล่าเซลล์ออนกริดใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ควบคู่กับการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าที่ใช้อยู่เดิม โดยสามารถใช้งานโดยร่วมกับแบตเตอรี่หรือไม่ก็ได้ ซึ่งระบบนี้มีข้อดีที่ใช้ต้นทุนเริ่มต้นในการติดตั้งไม่สูงมากนัก คืนทุนเร็ว และสามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตไปขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้ตามข้อกำหนด
2. ระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off Grid)
ระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากการผลิตของแผงโซล่าเซลล์เป็นหลัก โดยไม่เชื่อมต่อไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ซึ่งสามารถเพิ่มแบตเตอรี่โซล่าเซลล์เพื่อความเสถียรของไฟฟ้า ซึ่งระบบนี้จะเหมาะกับอาคารในพื้นที่ห่างไกลที่สายส่งจากการไฟฟ้าเข้าไม่ถึงให้สามารถใช้กระแสไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ หากติดตั้งร่วมกับแบตเตอรี่ จะช่วยให้มีไฟฟ้าใช้ในตอนกลางคืนหรือเมื่อเกิดไฟดับ
3. ระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด (Hybrid)
ระบบที่ผสมผสานการทำงานระหว่างระบบออนกริดและออฟกริด โดยเป็นระบบที่ต้องมีแบตเตอรี่ที่สามารถจ่ายพลังงานจากระบบโซล่าหรือพร้อมกับแบตเตอรี่ หรือหากมีการใช้ไฟปริมาณมาก ก็ยังใช้ไฟจากการไฟฟ้าร่วมด้วยก็ได้ หากเกิดไฟฟ้าขัดข้องก็ยังสามารถใช้ไฟจากแบตเตอรี่ได้ในตอนไฟดับ ส่งผลให้มีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง
วิธีประหยัดพลังงานในโรงงานที่กล่าวไปข้างต้นไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้บริโภคและคู่ค้าให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลงทุนในระบบและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะการติดตั้งโซล่าร์โรงงาน ซึ่งเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าในระยะยาว ทั้งในแง่ของการประหยัดต้นทุน การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ดังนั้น การเลือกพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ
ทั้งนี้ โรงงานอุตสาหกรรมควรเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่ตอบโจทย์การใช้งานภายในโรงงานมากที่สุด นอกจากนี้ แนะนำให้ใช้บริการจากบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่น่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ และต้องไม่ลืมที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพอย่าง SolarEdge
วางแผนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์โรงงาน เลือกผลิตภัณฑ์จาก SolarEdge
SolarEdge คือ ผู้นำนวัตกรรมด้านโซลูชั่นพลังงานแสงอาทิตย์ ที่คิดค้นอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมระบบโซล่าเซลล์ ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากมืออาชีพด้านโซล่าเซลล์ชั้นนำกว่า 140 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เจ้าของบ้าน และผู้ดำเนินธุรกิจโซล่าเซลล์
โดยเรามีโซลูชันพลังงานอัจฉริยะมากมาย อาทิ Inverter, Power Optimizer, Backup Interface ซึ่งล้วนมีระบบความปลอดภัยที่ครบครัน รวมไปถึงแอป mySolarEdge สำหรับจัดการพลังงานอย่างง่ายดายแค่ปลายนิ้ว
อีกทั้งยังมีพาร์ทเนอร์ที่ให้บริการหลังการขายที่ตอบโจทย์เจ้าของธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงเจ้าของบ้าน และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มอบการรับประกันที่ยาวนานกว่าใครๆ
ติดต่อเรา
กรอกแบบฟอร์ม คลิก
LINE Official: SolarEdge Thailand
ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก SolarEdge
Facebook: SolarEdge Technologies Inc.
Instagram: @solaredgepv
X: @SolarEdgePV
LinkedIn: SolarEdge Technologies