โซล่าฟาร์ม (Solar Farm) คืออะไร มีกี่ประเภท น่าลงทุนไหม

Content Writer / SolarEdge Thailand
18-04-2025

ท่ามกลางกระแสพลังงานสะอาดที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โซล่าฟาร์ม (Solar Farm) ถือเป็นหนึ่งรูปแบบธุรกิจพลังงานทดแทนที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่เพียงแต่ช่วยผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้จำนวนมากและประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับเทรนด์พลังงานสะอาดที่กำลังเติบโตทั่วโลก

บทความนี้จะพาคุณมาทำความรู้จักกับธุรกิจ Solar Farm ว่าคืออะไร มีกี่ประเภท เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่ และต้องเริ่มต้นอย่างไร เพื่อให้คุณมีข้อมูลครบถ้วนก่อนตัดสินใจ 

โซล่าฟาร์มคืออะไร

โซล่าฟาร์ม หรือ Solar Farm คือ แหล่งที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวนหลายพันแผงเรียงต่อกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์และให้ระบบโซล่าเซลล์แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้มาใช้ในการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย ทำให้เป็นธุรกิจที่น่าจับตามองสำหรับนักลงทุนในปัจจุบัน

โดยทั่วไป ธุรกิจโซล่าฟาร์มจะเริ่มต้นลงทุนที่ขนาด 1 ไร่ขึ้นไป เพื่อให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปริมาณมากในระดับเมกะวัตต์ (MW) จึงจะคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งหากยิ่งมีขนาดพื้นที่ใหญ่ ก็ยิ่งสามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นตามไปด้วย

  • บอกนิยามของ Solar Farm
  • โรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก
  • มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์หลายพันแผง (ขึ้นอยู่กับขนาดของฟาร์ม)
  • ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ธุรกิจพลังงานสะอาดที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนในปัจจุบัน
  • โดยทั่วไป ธุรกิจจะเริ่มลงทุนที่ 1 ไร่ขึ้นไป

โซล่าฟาร์ม มีกี่ประเภท

โซล่าฟาร์มสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก โดยจำแนกตามลักษณะการติดตั้งโซล่าฟาร์ม ดังนี้ 

1. Ground Mount System: โซล่าฟาร์มแบบยึดอยู่บนพื้นดิน

Ground Mount System หรือเรียกอีกอย่างว่า Fix System เป็นวิธีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบยึดอยู่กับที่ในทิศที่เหมาะสมเพื่อรับแสงอาทิตย์ได้ดีที่สุดตลอดทั้งปี โดยต้องมีการสำรวจพื้นที่เพื่อหาตำแหน่งที่รับแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่ และไม่มีการบดบังจากสิ่งแวดล้อมก่อนติดตั้ง หรือหากมีอาคาร โรงงาน ก็สามารถเลือกติดตั้งโซล่าร์โรงงานร่วมด้วยเช่นกัน

ข้อดีของโซล่าฟาร์มแบบยึดอยู่บนพื้นดิน คือ มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาต่ำกว่ารูปแบบอื่นๆ โครงสร้างมีความทนทาน และมีโอกาสเกิดปัญหาได้น้อย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีแสงแดดสม่ำเสมอตลอดปี อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะต่ำกว่าการติดตั้งรูปแบบอื่น

2. Floating System: โซล่าฟาร์มแบบลอยน้ำ

Floating System หรือโซล่าฟาร์มแบบลอยน้ำ เป็นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนทุ่นลอยน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ เช่น บึง อ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ทำเกษตรกรรมที่มีบึงหรือแหล่งน้ำในพื้นที่ โดยจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนทุ่นพลาสติกลอยน้ำที่ทำจากเม็ดพลาสติกเกรด HDPE ซึ่งมีความทนทานต่ออุณหภูมิและรังสี UV 

ข้อดีของระบบนี้คือ ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่บนบก ทำให้ประหยัดที่ดินหรือนำไปใช้งานอย่างอื่นได้ อีกทั้งน้ำที่อยู่ข้างใต้จะช่วยระบายความร้อนให้แผงโซล่าเซลล์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการติดตั้งบนพื้นดินราว 10 - 15% อย่างไรก็ตาม การติดตั้งระบบและการซ่อมบำรุงรักษาอาจมีความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน

3. Tracking System: โซล่าฟาร์มแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ 

โซล่าฟาร์มแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีในการหมุนแผงโซล่าเซลล์ไปตามทิศทางของดวงอาทิตย์ลอดทั้งวัน ด้วยการควบคุมผ่านโปรแกรมหรือระบบเซนเซอร์ เพื่อให้สามารถผลิตพลังงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา

จุดเด่นของระบบนี้ คือ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้สูงกว่าระบบติดตั้งแบบอยู่กับที่ถึง 25 - 30% ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากในพื้นที่จำกัด แต่ข้อสังเกตหลักค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาที่สูงกว่า เนื่องจากมีระบบกลไกซับซ้อน และมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาขัดข้องได้ง่ายกว่าระบบอื่นๆ 

ข้อดีของโครงการโซล่าฟาร์ม

  • ประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว - สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากกว่า 50% โดยเฉพาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานที่ที่มีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูง จึงเป็นวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานที่น่าสนใจ
  • เป็นพลังงานสะอาด - ระบบโซล่าเซลล์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีการเผาไหม้ ไม่ใช้สารเคมี และไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิต จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • สร้างรายได้จากการขายไฟฟ้า - ภาครัฐนั้นมีนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนและการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยสามารถขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าได้ ซึ่งในปัจจุบันรับซื้อที่ราคา 2.20 บาทต่อหน่วย

ข้อจำกัดของโซล่าฟาร์ม

  • การผลิตไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ - ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงอาทิตย์ในแต่ละวัน และแน่นอนว่าระบบสามารถผลิตไฟได้ในเฉพาะช่วงกลางวัน หากต้องการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืน อาจจำเป็นต้องติดตั้งแบตเตอรี่โซล่าเซลล์เพิ่มเติม
  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก - ต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวนหลายพันแผง เพราะฉะนั้นหากไม่มีที่ดินหรือมีไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิต อาจต้องลงทุนในที่ดินเพิ่ม ซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาคืนทุนยาวนานขึ้นกว่าที่ควร

ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นสูง - การทำโซล่าฟาร์มต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นค่าแผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ อุปกรณ์ติดตั้ง และค่าดำเนินการต่างๆ 

การติดตั้งโซล่าฟาร์มเริ่มต้นอย่างไร

สำหรับท่านใดที่สนใจหรือสงสัยในขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งโซล่าฟาร์ม เราได้สรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

1. สำรวจพื้นที่และศึกษาความเป็นไปได้

อันดับแรก คือ การประเมินพื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งโซล่าฟาร์ม เพื่อคำนวณว่าสามารถติดตั้งได้ในพื้นที่เท่าไร รวมถึงตรวจสอบทิศทางและความเข้มของแสงอาทิตย์ สภาพภูมิประเทศ และข้อจำกัดทางกฎหมาย พร้อมประเมินกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เป็นไปได้ รวมถึงวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินกับการลงทุน 

2. ยื่นขออนุญาตและดำเนินการทางกฎหมาย 

ผู้ติดตั้งจำเป็นต้องดำเนินการขออนุญาตก่อสร้าง (แบบ อ.1) จากหน่วยงานท้องถิ่นที่ดูแลพื้นที่นั้นๆ โดยลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่สำนักงาน กกพ. รวมถึงใบอนุญาตขนานไฟฟ้า และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า (ในกรณีต้องการขายไฟฟ้า) 

3. ออกแบบระบบ

ต่อมาคือ การเลือกประเภทและออกแบบโซล่าฟาร์มที่เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการใช้งาน ประกอบกับกำหนดขนาดและตำแหน่งของแผงโซล่าเซลล์ ชุดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไม่ว่าจะเป็นแผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ สายไฟ และอื่นๆ 

4. ติดตั้ง ทดสอบระบบ และเชื่อมต่อกับกริดไฟฟ้า ตามการไฟฟ้ากำหนด

ดำเนินการติดตั้งระบบตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ พร้อมทดสอบระบบเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จากนั้นดำเนินการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า 

5. บำรุงรักษาและติดตามผล

หลังจากเริ่มดำเนินการติดตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ การตรวจสอบสภาพและซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการติดตามประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

โซล่าฟาร์ม 1 MW ลงทุนเท่าไหร่

การลงทุนทำโซล่าฟาร์ม ขนาด 1 เมกะวัตต์ (MW) ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 25 - 35 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมค่าแผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ อุปกรณ์ติดตั้ง ค่าดำเนินการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง โซล่าฟาร์ม 1 MW จะใช้พื้นที่ประมาณ 8 - 10 ไร่ ที่มีแสงแดดส่องทั่วถึง และต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ประมาณ 1,500-2,000 แผง ที่มีกำลังผลิตราว 650W - 700W ต่อแผง โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 1,460,000 หน่วยต่อปี (คิดจากการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ย 4,000 หน่วยต่อวัน) ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของแผง ปริมาณแสงแดด และการเกิด Loss ในการผลิต เป็นต้น

หากขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าในราคา 2.20 บาทต่อหน่วย จะสร้างรายได้ประมาณ 3,212,000 บาทต่อปี ซึ่งอาจใช้เวลาคืนทุนประมาณ 9 - 11 ปี แต่หากนำไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปใช้ในกิจการของตนเองแทนการซื้อไฟจากการไฟฟ้า ซึ่งมีค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 4 - 5 บาทต่อหน่วย จะช่วยให้คืนทุนได้เร็วขึ้น โดยลดเหลือประมาณ 4 - 6 ปี

สำหรับ โซล่าฟาร์ม ขนาด 1 ไร่ สามารถติดตั้งระบบขนาดประมาณ 100 กิโลวัตต์ (0.1 MW) ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 500 หน่วยต่อวัน หรือ 182,500 หน่วยต่อปี เมื่อขายให้การไฟฟ้าที่ราคา 2.20 บาทต่อหน่วย จะสร้างรายได้ประมาณ 400,000 บาทต่อปี ด้วยเงินลงทุนประมาณ 3 - 4 ล้านบาท ทำให้มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 8-10 ปี

สรุปแล้ว โซล่าฟาร์ม เป็นธุรกิจพลังงานทดแทนที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในประเทศไทยเองยังมีการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ โดยรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ประกอบกับมีความต้องการใช้พลังงานสะอาดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ถึงแม้จะต้องใช้เงินลงทุนสูงในช่วงแรก แต่ด้วยอายุการใช้งานของระบบโซล่าเซลล์ที่ยาวนาน ทำให้สามารถสร้างรายได้และประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว นอกจากนี้ ราคาของเทคโนโลยีโซล่าเซลล์ที่มีแนวโน้มลดลง ยิ่งทำให้การลงทุนมีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจลงทุน ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ ทั้งทำเลที่ตั้ง ความเข้มของแสงแดดในพื้นที่ งบประมาณการลงทุน และระยะเวลาคืนทุน รวมถึงการเลือกผู้ติดตั้งที่มีประสบการณ์ และเลือกผลิตภัณฑ์ระบบโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพจาก SolarEdge อย่าง SolarEdge TerraMax™ Inverter ที่สามารถดึงประสิทธิภาพการผลิตพลังงานสูงสุดถึง 99% พร้อมรองรับการ Oversizing ได้ถึง 200% ช่วยลดต้นทุนระบบ (BoS) ได้สูงสุด 50% สามารถติดตั้งกับระบบโซล่าฟาร์มได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบโซล่าเซลล์บนพื้นดิน ระบบโซล่าเซลล์ลอยน้ำ หรืออื่นๆ เพิ่มผลการผลิตไฟฟ้า คุ้มค่าการลงทุน ดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่นี่

วางแผนทำธุรกิจโซล่าฟาร์ม เลือกผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์จาก SolarEdge

SolarEdge Technologies เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน โดยใช้วิศวกรรมและนวัตกรรมระดับโลกในการพัฒนาโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับกลุ่มลูกค้าในภาคที่อยู่อาศัย ภาคพาณิชย์ และภาคสาธารณูปโภค SolarEdge นำเสนอโซลูชันที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับการผลิต การจัดเก็บ การจัดการ และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทพัฒนาและผลิตอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ Power Optimizer ระบบจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ระบบจัดเก็บพลังงาน และบริการโครงข่ายไฟฟ้า

เทคโนโลยี DC-Optimized ของ SolarEdge ถูกติดตั้งในบ้านหลายล้านหลังในกว่า 140 ประเทศ และมากกว่า 50% ของบริษัท Fortune 100 มีการใช้งานเทคโนโลยีของ SolarEdge บนหลังคาของพวกเขา SolarEdge มีบทบาทสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่โครงข่ายพลังงานแบบกระจายที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ บริษัทยังมีบริการหลังการขายที่ครอบคลุม เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งเจ้าของบ้านและภาคธุรกิจ และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ให้การรับประกันที่ยาวนานที่สุดในตลาดอีกด้วย

ติดต่อเรา 

กรอกแบบฟอร์ม คลิก

LINE Official: SolarEdge Thailand

ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก SolarEdge

Facebook: SolarEdge Technologies Inc.

Instagram: @solaredgepv

X: @SolarEdgePV 

LinkedIn: SolarEdge Technologies

บทความที่เกี่ยวข้อง