ติดโซล่าปลอดภัยไหม? รู้ข้อคำนึงในการติดโซล่าร์เซลล์ให้หายห่วง

ปัจจุบันการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว และเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม หลายคนยังมีความกังวลว่า “ติดโซล่าเซลล์ปลอดภัยไหม” มีข้อเสียอะไรบ้าง บทความนี้จะมาช่วยไขข้อข้องใจ พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพื่อให้คุณมั่นใจในการติดตั้งโซล่าเซลล์มากขึ้น
ติดโซล่าปลอดภัยไหม?
อันดับแรกก่อนกล่าวถึงความปลอดภัยในการติดตั้งโซล่าเซลล์ เรามาทำความเข้าใจระบบโซล่าเซลล์เบื้องต้นกันก่อน โดยทั่วไประบบโซล่าเซลล์จะมีส่วนประกอบหลักดังนี้
- แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) แผงวงจรที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า
- อินเวอร์เตอร์ (Inverter) อุปกรณ์แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ได้จากแผงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ในครัวเรือนอาศัยไฟฟ้ากระแสสลับในการทำงาน ทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการควบคุมคุณภาพไฟฟ้าและดูแลความปลอดภัยของไฟฟ้าที่ผลิตและจ่ายเข้าบ้าน
- เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าไปยังโหลดในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด ช่วยป้องกันวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าจากความเสียหาย
- อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อน (Zero Export Controller) อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์แล้วเหลือจากการใช้งานไหลย้อนกลับเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้า โดยสั่งลดการผลิตพลังงานของอินเวอร์เตอร์อัตโนมัติ
- แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ (Solar Battery) ทำหน้าที่ในการกักเก็บพลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ เพื่อนำมาใช้ในเวลามีแสงอาทิตย์น้อยหรือไม่มีเลย หรือแม้จะสำรองมาใช้ในยามไฟดับก็ได้
จากองค์ประกอบต่างๆ จะเห็นได้ว่า ระบบโซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง (Voltage) แต่เมื่อติดตั้งอย่างถูกวิธี ออกแบบอย่างเหมาะสม มีการวางมาตรการรักษาความปลอดภัย และดำเนินการติดตั้งด้วยผู้เชี่ยวชาญ ระบบโซล่าเซลล์ก็นับเป็นพลังงานทางเลือกที่ถือว่ามีความปลอดภัยสูง
ข้อคำนึงในการติดโซล่าเซลล์ให้ปลอดภัย

เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยเมื่อติดโซล่าร์เซลล์บ้าน อาคาร หรือติดตั้งโซล่าร์โรงงาน ควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
-
การออกแบบระบบที่ได้มาตรฐาน และปลอดภัย
ตั้งแต่ก่อนดำเนินการติดตั้ง ระบบโซล่าเซลล์ควรได้รับการออกแบบโดยวิศวกรไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญ โดยมีการคำนึงและคำนวณปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของระบบ ลักษณะโครงสร้างอาคาร ลักษณะหลังคาหรือพื้นที่ดาดฟ้า รวมไปถึงสภาพแวดล้อม เช่น มีต้นไม้บดบังแสงหรือไม่
-
การเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีฟังก์ชันป้องกันเหตุที่ดี
ควรเลือกติดตั้งอุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์คุณภาพที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย เช่น IEC หรือ UL มี Rapid Shutdown และฟังก์ชันความปลอดภัยอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะหากใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน
-
จุดการติดตั้งอุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์ที่เหมาะสม
การวางตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์นั้นมีผลต่อความปลอดภัย เช่น การติดตั้งอินเวอร์เตอร์ในจุดที่มีอุณหภูมิต่ำ อากาศถ่ายเทและเข้าถึงสะดวก ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบโซล่าเซลล์จะสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
-
มาตรฐานแผงโซล่าเซลล์
ในปัจจุบันแผงโซล่าเซลล์มีหลายชนิดจากหลายผู้ผลิตให้เลือกใช้งาน ซึ่งนอกจากจะต้องศึกษาคุณสมบัติของแผงแต่ละแบบแล้ว ควรเลือกแผงจากยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ เข้ากับอุปกรณ์โซล่าเซลล์อื่นๆ ในระบบ เพื่อป้องกันเหตุการณ์แผงโซล่าเซลล์ไหม้ หรือผลิตพลังงานได้ไม่มากเท่าที่ควร
-
ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้ติดตั้ง
ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ผลงานและประสบการณ์ของบริษัทผู้ติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อให้มั่นใจถึงมาตรฐานการติดตั้งและการดูแลหลังการขายในระยะยาว เนื่องจากระบบโซล่าเซลล์ต่างมีหลักการทำงานที่ต่างกันไป ทั้งโซล่าเซลล์ออนกริดที่เชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า โซล่าเซลล์ออฟกริดที่มีการเพิ่มแบตเตอรี่เข้ามา และโซล่าเซลล์ไฮบริดที่มีความซับซ้อน
แผงโซล่าเซลล์ไหม้ เกิดจากอะไร
หลายคนอาจมีความกังวลเรื่องแผงโซล่าเซลล์เกิดไฟไหม้ เนื่องจากข่าวที่ปรากฏให้เห็นตามสื่อต่างๆ ทั้งนี้ การเข้าใจถึงสาเหตุว่าแผงโซล่าเซลล์ไหม้เกิดจากอะไร และการสังเกตอาการผิดปกติเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกัน โดย 4 สาเหตุหลักที่ส่งผลให้แผงโซล่าเซลล์สะสมความร้อนจนเกิดไฟไหม้ มีดังนี้
1. ปรากฏการณ์ Hot Spot - คือ จุดที่เกิดความร้อนบนหน้าแผงเนื่องจาก กระแสไฟในแผงเดินทางไม่ได้ตามปกติ โดยมากเกิดจากแผงแตก หรือมีวัตถุใดมาติดบนหน้าแผงนานๆ ทำให้เกิดความร้อนสะสมจนลามไปเป็นเหตุเพลิงไหม้ได้ เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านจุดจุดนั้น จะทำให้เกิดความร้อนสะสม จนอาจเกิดไฟไหม้ได้
2. อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน - อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การใช้อุปกรณ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ใช้สินค้ามือสอง หรือสินค้าชำรุด ไม่ว่าจะเป็นแผง อุปกรณ์จับยึด สายไฟ เบรกเกอร์ หรืออุปกรณ์เสริม ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอันตรายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งานได้
3. การขนส่ง ติดตั้งที่ไม่เหมาะสม – หากมีการขนส่งแผงที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้แผงแตกทั้งมองเห็นด้วยตาเปล่าและมองไม่เห็น การขนแผงขึ้นหลังคาที่ขาดความระมัดระวัง การจับยึดแผงไม่แน่น หรือแน่นเกินไป การเข้าสายไฟที่ไม่เป็นไปตามวิธีที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดความร้อนสะสม และหากขาดการดูแลระบบที่ดี ก็อาจลุกลามไปเป็นไฟไหม้ได้
4. สิ่งสกปรกสะสมเป็นเวลานาน - สิ่งสกปรกอย่าง ใบไม้ มูลนก และฝุ่นละอองสะสมบนแผงโซล่าเซลล์ อาจส่งผลให้แผงไม่สามารถผลิตพลังงานได้เต็ม และนำไปสู่การเกิด Hot Spot
ฉะนั้น ควรเลือกใช้อุปกรณ์โซล่าเซลล์ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย มีคุณภาพ รวมถึงใช้บริการของบริษัทผู้ติดตั้งที่น่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ และมีการบริการหลังการขาย เพื่อความปลอดภัยในการติดตั้งโซล่าเซลล์ระยะยาว
ความปลอดภัยในการติดตั้งโซล่าเซลล์

เมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ควรดำเนินการตรวจสอบดูแลระบบหลังติดตั้ง เพื่อเฝ้าดูความผิดปกติ ข้อขัดข้อง และสามารถเข้าดำเนินการซ่อมบำรุงได้อย่างทันท่วงที โดยควรมีการตรวจสอบเบื้องต้น เช่น
- ตรวจสอบความร้อนหน้าแผงด้วย Thermoscan ซึ่งอาจใช้โดรนรุ่นที่ทำ Thermoscanได้ เพื่อหาจุดร้อนผิดปกติบนแผงโซล่าเซลล์
- ตรวจสอบจุดเชื่อมต่อต่างๆ ตั้งแต่หลังแผง จุดเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าในอาคาร ทั้งการใช้ Thermoscan เช็ก Torque ตามจุดเชื่อมต่อ พร้อมทำความสะอาดตู้ไฟ
- ตรวจเช็กสภาพสายไฟ ว่ามีการเสื่อมสภาพ ฉีกขาด หรือชำรุดหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนหรือซ่อมแซมทันที
นอกจากการตรวจสอบหลังติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แล้ว ควรคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ของระบบโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ร่วมด้วย เพราะระบบความปลอดภัยเหล่านี้ นับเป็นด่านแรกที่จะช่วยลดและป้องกันความเสียหาย หากเกิดกรณีที่ไม่คาดฝัน เช่น
- Rapid Shutdown - ระบบหยุดการทำงานฉุกเฉิน โดยจะทำหน้าที่ลดแรงดันกระแสไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยอย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่จึงสามารถเข้าระงับเหตุการณ์ได้อย่างปลอดภัยและทันท่วงที
- AFCI (Arc Fault Circuit Interrupter) - ระบบความปลอดภัยที่คอยตรวจจับการเกิดอาร์ค (Arc) โดยหากมีกระแสไฟรั่วจนเกิดประกายไฟ ระบบจะตัดการทำงานของวงจรไฟฟ้าทันที เพื่อหยุดยั้งการเกิดประกายไฟและลามเป็นไฟไหม้ได้
ทั้งนี้ SolarEdge ได้คิดค้นและพัฒนาระบบความปลอดภัยระบบโซล่าเซลล์ที่ช่วยให้เจ้าของบ้าน ธุรกิจ และผู้ประกอบการโรงงานที่ติดตั้งโซล่าเซลล์อุ่นใจ
ฟังก์ชันด้านความปลอดภัยในการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ครอบคลุมจาก SolarEdge
SolarEdge ผู้นำนวัตกรรมด้านโซลูชั่นพลังงานแสงอาทิตย์ ที่พัฒนาอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมระบบโซล่าเซลล์ ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากมืออาชีพด้านโซล่าเซลล์ชั้นนำกว่า 140 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เจ้าของบ้าน และผู้ดำเนินธุรกิจโซล่าเซลล์ นำเสนอฟังก์ชันความปลอดภัยที่ล้ำสมัยและครอบคลุม
- ระบบ SafeDC™ และ Rapid Shutdown บิลด์ใน Power Optimizer – ฟังก์ชันลดแรงดันกระแสไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการสัมผัส เมื่อระบบไฟฟ้าขัดข้องหรืออินเวอร์เตอร์ถูกปิด และสามารถช่วยปกป้องเจ้าหน้าที่ขณะซ่อมแซมหรือบำรุงรักษา ทั้งยังมีความสามารถตัดไฟหลังแผงในกรณีฉุกเฉินโดยอัตโนมัติ ตรงตามมาตรฐาน UL3741 และข้อบังคับของวสท.
- Sense Connect - เทคโนโลยีของ SolarEdge ออกแบบมาให้ตรวจจับอุณหภูมิผิดปกติในคอนเนคเตอร์ ลดความเสี่ยงการเกิดอาร์ค และหยุดกระแสไฟฟ้าก่อนเกิดประกายไฟได้ พร้อมแจ้งเตือนผ่านแพลตฟอร์ม Monitoring ของ SolarEdge หากมีข้อผิดปกติขณะติดตั้ง ก็สามารถแก้ไขได้ทันที
SolarEdge มีโซลูชันพลังงานอัจฉริยะมากมาย อาทิ Inverter, Power Optimizer, Battery, Backup Interface ซึ่งล้วนมีระบบความปลอดภัยที่ครบครัน รวมไปถึงแพลตฟอร์มมอนิตอริ่ง สำหรับตรวจสอบและจัดการพลังงานอย่างง่ายดายแค่ปลายนิ้ว
ติดต่อเรา
กรอกแบบฟอร์ม คลิก
LINE Official: SolarEdge Thailand
ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก SolarEdge
Facebook: SolarEdge Technologies Inc.
Instagram: @solaredgepv
X: @SolarEdgePV
LinkedIn: SolarEdge Technologies